บทความ

ประเภทของฝ้าและฝ้ามีกี่ชนิด

ประเภทของฝ้าและฝ้ามีกี่ชนิด

ปัญหาเรื่อง “ฝ้า (Melasma หรือ Cholasma)” ฝ้ามีลักษณะ เป็นปื้นสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเข้ม บางครั้งมีสีออกดำอมฟ้า หรือสีแดง พบการขยายวงกว้างบริเวณโหนกแก้มได้มากกว่าที่อื่นบนใบหน้า ในบางครั้งเราอาจพบกระ ซึ่งเป็นจุดเล็กๆสีน้ำตาลกระจายอยู่ร่วมกับฝ้าอีกด้วยค่ะ ซึ่งฝ้าจะมีทั้งหมด 3 ชนิดหลักๆดังนี้

ฝ้าลึก (Dermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังแท้ใต้หนังกำพร้า มีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีเทาอมฟ้า มีขอบเขตของฝ้าไม่ชัดเจน สังเกตได้ว่าฝ้าชนิดนี้จะกลืนไปกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง

ฝ้าตื้น (Epidermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังกำพร้า มีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาดำ ฝ้ายนิดนี้จะเห็นขอบเขตของการเกิดฝ้าได้ชัดเจน

ฝ้าผสม (Mix type) – ฝ้าที่มีการผสมกันระหว่างฝ้าลึก และฝ้าตื้นบนใบหน้า

สาเหตุของการเกิดฝ้า และวิธีป้องกันการเกิดฝ้าแต่ละชนิด

ฝ้าเลือด หรือในทางการแพทย์เรียกว่า Vascular melisma หรือ Telangiectetic melisma ฝ้าเลือดเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนผิวหน้า ผลมาจากการใช้เครื่องสำอาง หรือยา ที่มีส่วนผสมของเสตียรอยด์ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดกระจุกบริเวณพังผืดใต้ผิวหนังชั้นลึก โดยฝ้าจะมีสีน้ำตาลแดง จัดเป็นฝ้าที่รักษายาก ฝ้าเลือดพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายถึง 80%

ฝ้าจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ฝ้าฮอร์โมนพบบนใบหน้าเพศหญิงมากกว่าเพศชายนั้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เช่น

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ ที่เรียกว่า “Mark of pregnancy”
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างวัยหมดประจำเดือน หรือ กลุ่มที่มีประจำเดือนไม่ปกติ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ฝ้าที่เกิดจากการทานยาที่มีผลต่อฮอร์โมนคุมกำเนิด เช่น ยากลุ่มฟีไนโทอีน และยากลุ่มไฮโดรควิโนน เป็นต้น

การป้องกันหรือรักษาฝ้าที่เกิดจากการทานยานั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อแจ้งให้ทราบถึงผลข้างเคียงที่ได้รับโดยแพทย์อาจทำการหยุดยา หรือเปลี่ยนยาตัวอื่นที่ไม่มีผลข้างเคียงแทน ทั้งนี้ในส่วนของฝ้าที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์จะหาย หรือจางลงไปเองหลังการคลอดบุตร

ฝ้าแดด ฝ้าที่เกิดจากแสงแดด การโดนแสงแดดโดยตรงและโดนแสงแดดเป็นเวลานาน ทำให้เกิดฝ้าแดดได้ง่าย ซึ่งแสงแดดเป็นอันตรายต่อผิว เพราะแสงแดดมีรังสี UVA และ UVB ที่ส่งตรงมายังผิวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รังสี UVA ที่มีความยาวคลื่นมากกว่าจึงส่งผลไปถึงชั้นผิวที่ลึกกว่า ทำให้เกิดทั้ง “ฝ้าแดด และกระ” ได้ในเวลาเดียวกัน การเกิดฝ้าแดดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการรับปริมาณแสงแดด และการผลิตเม็ดสีผิว (Melamine pigment) จากเซลล์เม็ดสีผิวใต้ผิวหนัง (Melanocytes) ของแต่ละคน เนื่องจากเม็ดสีผิวของเรามีหน้าที่กรองรังสีจากแสงแดด เมื่อได้รับแสงแดดมากเม็ดสีจะถูกผลิตมากขึ้น ทำให้เกิดฝ้า และทำให้สีของฝ้าเข้มขึ้น

วิธีป้องกันฝ้าแดด คือ หลีกเลี่ยงการเจอแสงแดดโดยตรง ทาครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ SPF 30 ขึ้นไป

ฝ้าจากการแพ้เครื่องสำอาง ฝ้าชนิดนี้จะทำให้ผิวหน้าเกิดผื่นแดง หรือมีตุ่มเล็กเป็นวงกว้างบริเวณผิวหน้า มีการอักเสบของบริเวณรูขุมขน เมื่ออาการเหล่านี้หายไป มักกลายเป็นรอยดำปื้นๆเป็นบริเวณกว้าง

การป้องกันฝ้าลักษณะนี้แนะนำให้หยุดการใช้เครื่องสำอางชนิดนั้นทันทีเพื่อป้องกันการลุกลามของฝ้าและการอักเสบของรูขุมขน